รางวัลนักวิจัยดีเด่นวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเชิดชูและให้กำลังใจแก่บุคลากรในวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินที่ได้ผลิตผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ
ประเภทของรางวัล มี 2 รางวัล
1. รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น
2. รางวัลนักวิจัยดีเด่น //รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
ชื่อรางวัล “รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563
ปีที่พิจารณารางวัล ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2562
คุณสมบัติของงานวิจัยที่ถูกเสนอเพื่อประกอบการพิจารณารางวัล
1. เป็นผลงานวิจัยที่พิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ประเภท original article ตามปีที่วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยกำหนด
2. เป็นผลงานวิจัยที่มีผู้ถูกเสนอชื่อเข้าพิจารณารางวัลเป็นชื่อแรก (first author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author)
3. กำหนดให้นักวิจัยเสนอผลงาน 1 เรื่อง ตามแบบเสนอรางวัลการวิจัยวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
4. เป็นผลงานวิจัยที่ไม่เคยเสนอเพื่อพิจารณารางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ของวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
5. ผู้ที่เข้ารับรางวัลต้องเป็นสมาชิกสามัญของวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
คุณสมบัติของผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับรางวัล
1. ต้องไม่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหลักวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยในปีที่การพิจารณารางวัลปีนั้น
2. นักวิจัยที่เคยได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย มีสิทธิในการรับการเสนอชื่อรับรางวัล
หมายเหตุ ผู้ที่เสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้วิจัย
เกณฑ์ในการตัดสิน คะแนนเต็ม 100 คะแนน
1. Journal Quartile scores ในฐาน SCImago Journal และ Web of Science (เฉลี่ย 2 ค่า) ของปี ค.ศ. ก่อนหน้าปีที่พิจารณารางวัล 1 ปี (ปีพิจารณารางวัล ค.ศ. 2019 ใช้คะแนน SJR ปี ค.ศ. 2018)
a. Q1 = 30 คะแนน
b. Q2 = 25 คะแนน
c. Q3 = 20 คะแนน
d. Q4 = 15 คะแนน
2. ค่า impact factor จาก JOURNAL Citation Report ของปี ค.ศ. ก่อนหน้าปีที่พิจารณารางวัล 1 ปี
(ปีพิจารณารางวัล ค.ศ. 2019 ใช้คะแนน JCR ปี ค.ศ. 2018) คะแนนเต็ม 30 คะแนน
3. ระเบียบวิธีวิจัยก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันฝึกอบรมของวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (Multicenter study) 10 คะแนน มีการขอจริยธรรมอย่างน้อย 2 สถาบันหรือคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยกลางและต้องมีอาสาสมัครในแต่ละ center ด้วย
4. ได้รับทุนวิจัยจากภายนอกสถาบันของตนเอง 10 คะแนน
5. รูปแบบของงานวิจัย
a. Randomized control trial (RCT) 20 คะแนน
b. Meta-analysis หรือ Prospective/cross-sectional 15 คะแนน
c. Retrospective study 10 คะแนน
รางวัล
ประกอบด้วยโล่รางวัลและเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท
//รางวัลนักวิจัยดีเด่น วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
ชื่อรางวัล “รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563
ปีที่พิจารณารางวัล ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558-2562 (5 ปีย้อนหลัง)
คุณสมบัติของผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับรางวัล
1. มีผลงานวิจัยที่เป็นชื่อแรก (first author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) พิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ประเภท original article
2. มีค่า H-index ในฐานข้อมูล Scopus
3. ต้องไม่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
ในปีที่การพิจารณารางวัลปีนั้น
4. นักวิจัยที่เคยได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ทีสิทธิในการรับการเสนอชื่อทุก 5 ปี
5. ผู้ที่เข้ารับรางวัลต้องเป็นสมาชิกสามัญของวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ ผู้ที่เสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้วิจัย
คุณสมบัติของงานวิจัยที่ถูกเสนอเพื่อประกอบการพิจารณารางวัล
1. ผลงานวิจัยย้อนหลัง 5 ปี จำนวนอย่างน้อย 5 เรื่องที่เป็นชื่อแรก (first author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) ในฐาน Scopus/Web of Science/Pubmed
เกณฑ์ในการตัดสิน คะแนนเต็ม 100 คะแนน
1. ค่า H index ในฐานข้อมูล Scopus น้ำหนักคะแนน ร้อยละ 35 (คิดคะแนนเป็นสัดส่วนของผู้เสนอชื่อที่มีค่า H index สูงสุด)
2. ค่าเฉลี่ย impact factor จาก JCR ของผลงาน 5 เรื่อง ย้อนหลัง 5 ปี ที่เป็นชื่อแรก (first author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) น้ำหนักคะแนน ร้อยละ 35 (คิดคะแนนเป็นสัดส่วนของผู้เสนอชื่อที่มีค่า impact factor สูงสุด)
3. จำนวนผลงานวิจัย 5 ปี ย้อนหลังที่เป็นชื่อแรก (first author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) ในฐาน Scopus/Web of Science/Pubmed น้ำหนักคะแนน ร้อยละ 30 (คิดคะแนนเป็นสัดส่วนของผู้เสนอชื่อที่มีจำนวนงานวิจัยสูงสุด)
รางวัล
ประกอบด้วยโล่รางวัลและเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท
คณะกรรมการตัดสินรางวัลการวิจัย วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
ประกอบด้วยกรรมการตัดสินทั้งหมด 7 ท่าน
1. ประธานวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ
2. กรรมการจากวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย จำนวน 3 ท่าน เป็นกรรมการ
3. อนุกรรมการฝ่ายวิจัย จำนวน 2 ท่าน เป็นกรรมการ
4. ประธานอนุกรรมการฝ่ายวิจัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
5. เลขานุการอนุกรรมการฝ่ายวิจัยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสนอชื่อผู้เข้ารับรางวัล https://docs.google.com/file/d/1q4fdmMHh880sHBK_11CARtmeZDfPkKTh/edit?usp=docslist_api&filetype=msword[Download not found]